วันที่ 4 ม.ค. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในวันแรกของการกลับมาทำงานหลังหยุดยาว-เฉลิมฉลองปีใหม่ พบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 3,091 ราย จาก 2,927 รายในวันก่อนหน้า โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยว
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แสดงความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดใน จ.ชลบุรี และ จ.อุบลราชธานี ซึ่งพบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากสุดเป็น อันดับ 1 (499 ราย) และ อันดับ 3 (376) ตามลำดับ โดยต้นตอมาจากร้านอาหารกึ่งผับบาร์ มีการดื่มเหล้า เต้น พูดคุย โดยไม่สวมหน้ากากอนามัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ปิดเป็นเวลานาน
ส่วนกรุงเทพฯ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากเป็นอันดับ 2 คือ 376 ราย
นพ.โอภาสกล่าวว่าศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ยังไม่อนุญาตให้ผับบาร์กลับมาเปิด แต่ผู้ประกอบการบางรายมาขอคณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัดเปิดเป็นร้านอาหาร แต่กลับมีให้บริการลักษณะผับบาร์ที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้คณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัดดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการร้านอาหารที่ฝ่าฝืนมาตรการควบคุมโรค
นพ.โอภาสบอกว่าในปีนี้ สธ. มุ่งสู่การทำให้โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งโควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ต้องมาจากปัจจัยหลัก 3 ข้อ คือ เชื้อโรคลดความรุนแรงลง ประชากรมีภูมิคุ้มกันมาขึ้นจากการได้รับวัคซีน และระบบสาธารณสุขรองรับได้ดี-การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ติดเชื้อโอมิครอนได้ภูมิต้านเดลตา
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์บอกว่าไทยกำลังจับตาการพบเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนกลายพันธุ์ไทย โดยให้ความเชื่อมั่นว่าหากมีเชื้อกลายพันธุ์โปรแกรมคํานวณลัคนาราศีเกิด ไทยจะตรวจพบอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ นพ.ศุภกิจยังได้กล่าวถึงงานวิจัยจากประเทศแอฟริกาใต้ที่รายงผลการตรวจเลือดของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนครบ14 วัน ที่พบว่ามีภูมิต้านทานเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงเตรียมเก็บตัวอย่างเลือดของผู้ติดเชื้อโอมิครอนในไทยเพื่อนำไปทดสอบกับเชื้อเดลตาว่าสามารถจัดการเชื้อเดลตาได้มากน้อยแค่ไหน
“คนที่ติดเชื้อโอมิครอนไม่ว่าจะฉีดวัคซีนแล้วหรือยังไม่ได้ฉีด หลังจากติดเชื้อครบ 14 วัน พบว่าจำนวนหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันที่กันเชื้อเดลตาได้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ…ถ้าเป็นจริงตามนี้ก็หมายความว่าการที่เราติดเชื้อโอมิครอน ไม่ได้มีผลร้ายอย่างเดียวยังช่วยป้องกันเดลตาด้วย ทำให้ (การติดเชื้อ) เดลตาอาจจะน้อยลง แต่ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้สนับสนุนให้ท่านไปรับเชื้อโอมิครอนนะครับ” นพ.ศุภกิจกล่าว
นพ. ศุภกิจกล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่เพิ่มขึ้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงไม่ได้ตรวจหาสายพันธุ์ของทุกตัวอย่างว่าเป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนหรือไม่ แต่จะสุ่มตรวจเพื่อคำนวณหาสัดส่วนสายพันธุ์ที่ระบาดเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้สายพันธุ์หลักที่ระบาดยังคงเป็นสายพันธุ์เดลตา ครองสัดส่วน 70-80% ส่วนโอมิครอนราว 20% ดังนั้นคนไทยจึงยังต้องระวังการติดเชื้อเนื่องจากความเสี่ยงจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตยังคงมีสูง
อ้างอิง
https://www.khaosod.co.th/covid-19/